วันอาสาฬหบูชา

วันอาสาฬหบูชา


ธรรมจักกัปปวัตนสูต

ทุกวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี จะตรงกับวันสำคัญทางพุทธศาสนาอีกหนึ่งวัน นั่นคือ “วันอาสาฬหบูชา”

ทั้งนี้ คำว่า “อาสาฬหบูชา” สามารถอ่านได้ 2 แบบ คือ อา-สาน-หะ-บู-ชา หรือ อา-สาน-ละ-หะ-บู-ชา ซึ่งจะประกอบด้วยคำ 2 คำ คือ อาสาฬห ที่แปลว่า เดือน 8 ทางจันทรคติ กับคำว่า บูชา ที่แปลว่า การบูชา เมื่อนำมารวมกันจึงแปลว่า การบูชาในเดือน 8 หรือการบูชาเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในเดือน 8

วันอาสาฬหบูชา คือวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงประกาศพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก หลังจากตรัสรู้ได้ 2 เดือน โดยแสดงปฐมเทศนาโปรดพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้แก่ พระโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานาม และพระอัสสชิ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นมคธ จน พระอัญญาโกณฑัญญะ ได้บรรลุธรรมและขอบวชเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา จึงถือว่าวันนี้มีพระรัตนตรัยครบองค์สามบริบูรณ์ครั้งแรกในโลก คือ มีทั้งพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนพุทธศักราช 45 ปี

ทั้งนี้ พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ปัจจวัคคีย์ทั้ง 5 เรียกว่า “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” แปลว่า พระสูตรแห่งการหมุนวงล้อธรรม ซึ่งหลังจากปฐมเทศนา หรือเทศนากัณฑ์แรกที่พระองค์ทรงแสดงจบลง พระอัญญาโกณฑัญญะก็ได้ดวงตาเห็นธรรม สำเร็จเป็นพระโสดาบัน จึงขออุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าก็ได้ประทานอุปสมบทให้ด้วยวิธีที่เรียกว่า “เอหิภิกขุอุปสัมปทา” พระโกณฑัญญะจึงได้เป็น พระอริยสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา ต่อมา พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม และได้อุปสมบทตามลำดับ

สำหรับใจความสำคัญของการปฐมเทศนา มีหลักธรรมสำคัญ 2 ประการ คือ

1. มัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลาง เป็นข้อปฏิบัติที่เป็นกลางๆ ถูกต้องและเหมาะสมที่จะให้บรรลุถึงจุดหมายได้ มิใช่การดำเนินชีวิตที่เอียงสุด 2 อย่าง หรืออย่างหนึ่งอย่างใด คือ

การหมกมุ่นในความสุขทางกาย มัวเมาในรูป รส กลิ่น เสียง รวมความเรียกว่าเป็นการหลงเพลิดเพลินหมกมุ่นในกามสุข หรือกามสุขัลลิกานุโยค

การสร้างความลำบากแก่ตน ดำเนินชีวิตอย่างเลื่อนลอย เช่น บำเพ็ญตบะการทรมานตน คอยพึ่งอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น ซึ่งการดำเนินชีวิตแบบที่ก่อความทุกข์ให้ตนเหนื่อยแรงกาย แรงสมอง แรงความคิด รวมเรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค

ดังนั้น เพื่อละเว้นห่างจากการปฏิบัติทางสุดเหล่านี้ ต้องใช้ทางสายกลาง ซึ่งเป็นการดำเนินชีวิตด้วยปัญญา โดยมีหลักปฏิบัติเป็นองค์ประกอบ 8 ประการ เรียกว่า อริยอัฏฐังคิกมัคค์ หรือ มรรคมีองค์ 8 ได้แก่

1. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ คือ รู้เข้าใจถูกต้อง เห็นตามที่เป็นจริง

2. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ คิดสุจริตตั้งใจทำสิ่งที่ดีงาม

3. สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือ กล่าวคำสุจริต

4. สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ คือ ทำการที่สุจริต

5. สัมมาอาชีวะ อาชีพชอบ คือ ประกอบสัมมาชีพหรืออาชีพที่สุจริต

6. สัมมาวายามะ พยายามชอบ คือ เพียรละชั่วบำเพ็ญดี

7. สัมมาสติ ระลึกชอบ คือ ทำการด้วยจิตสำนึกเสมอ ไม่เผลอพลาด

8. สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ คือ คุมจิตให้แน่วแน่มั่นคงไม่ฟุ้งซ่าน

2. อริยสัจ 4
แปลว่า ความจริงอันประเสริฐของอริยะ ซึ่งคือ บุคคลที่ห่างไกลจากกิเลส ได้แก่

1. ทุกข์ ได้แก่ ปัญหาทั้งหลายที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ บุคคลต้องกำหนดรู้ให้เท่าทันตามความเป็นจริงว่ามันคืออะไร ต้องยอมรับรู้ กล้าสู้หน้าปัญหา กล้าเผชิญความจริง ต้องเข้าใจในสภาวะโลกว่าทุกสิ่งไม่เที่ยง มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่น ไม่ยึดติด

2. สมุทัย ได้แก่ เหตุเกิดแห่งทุกข์ หรือสาเหตุของปัญหา ตัวการสำคัญของทุกข์ คือ ตัณหาหรือเส้นเชือกแห่งความอยากซึ่งสัมพันธ์กับปัจจัยอื่นๆ

3. นิโรธ ได้แก่ ความดับทุกข์ เริ่มด้วยชีวิตที่อิสระ อยู่อย่างรู้เท่าทันโลกและชีวิต ดำเนินชีวิตด้วยการใช้ปัญญา

4. มรรค ได้แก่ กระบวนวิธีแห้งการแก้ปัญหา อันได้แก่ มรรคมีองค์ 8 ประการดังกล่าวข้างต้น

โพสท์ใน วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา | ใส่ความเห็น

วันวิสาขบูชา

เชื่อว่าทุกคนรู้จักชื่อวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอย่าง วันวิสาขบูชา กันดีอยู่แล้ว แต่จะมีสักกี่คนที่ทราบความเป็นมา และความสำคัญของ วันวิสาขบูชา ถ้างั้นอย่ารอช้า…เราไปค้นหาความหมายของ วันวิสาขบูชา และอ่าน ประวัติวันวิสาขบูชา พร้อมๆ กันดีกว่าค่ะ

ความหมายของ วันวิสาขบูชา

คำว่า วิสาขบูชา ย่อมาจากคำว่า “วิสาขปุรณมีบูชา” แปลว่า “การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ” ดังนั้น วิสาขบูชา จึงหมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือน 6

การกำหนด วันวิสาขบูชา

วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนพฤษภาคม หรือมิถุนายน แต่ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ กลางเดือน 7 หรือราวเดือนมิถุนายน

อย่างไรก็ตาม ในบางปีของบางประเทศอาจกำหนด วันวิสาขบูชา ไม่ตรงกับของไทย เนื่องด้วยประเทศเหล่านั้นอยู่ในตำแหน่งที่ต่างไปจากประเทศไทย ทำให้วันเวลาคลาดเคลื่อนไปตามเวลาของประเทศนั้นๆ

ประวัติวันวิสาขบูชา และความสำคัญของ วันวิสาขบูชา

วันวิสาขบูชา ถือเป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่เกิด 3 เหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวียนมาบรรจบกันในวันเพ็ญเดือน 6 แม้จะมีช่วงระยะเวลาห่างกันนับเวลาหลายสิบปี ซึ่งเหตุการณ์อัศจรรย์ 3 ประการ ได้แก่

1. วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ


เมื่อพระนางสิริมหามายา พระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงพระครรภ์แก่จวนจะประสูติ พระนางแปรพระราชฐานไปประทับ ณ กรุงเทวทหะ เพื่อประสูติในตระกูลของพระนางตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น ขณะเสด็จแวะพักผ่อนพระอิริยาบถใต้ต้นสาละ ณ สวนลุมพินีวัน พระนางก็ได้ประสูติพระโอรส ณ ใต้ต้นสาละนั้น ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ก่อนพุทธศักราช 80 ปี ครั้นพระกุมารประสูติได้ 5 วัน ก็ได้รับการถวายพระนามว่า “สิทธัตถะ” แปลว่า “สมปรารถนา”

เมื่อข่าวการประสูติแพร่ไปถึงอสิตดาบส 4 ผู้อาศัยอยู่ในอาศรมเชิงเขาหิมาลัย และมีความคุ้นเคยกับพระเจ้าสุทโธทนะ ดาบสจึงเดินทางไปเข้าเฝ้า และเมื่อเห็นพระราชกุมารก็ทำนายได้ทันทีว่า นี่คือผู้จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงกล่าวพยากรณ์ว่า “พระราชกุมารนี้จักบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ เห็นแจ้งพระนิพพานอันบริสุทธ์อย่างยิ่ง ทรงหวังประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก จะประกาศธรรมจักรพรหมจรรย์ของพระกุมารนี้จักแพร่หลาย” แล้วกราบลงแทบพระบาทของพระกุมาร พระเจ้าสุทโธทนะทอดพระเนตรเห็นเหตุการณ์นั้นทรงรู้สึกอัศจรรย์และเปี่ยมล้นด้วยปีติ ถึงกับทรุดพระองค์ลงอภิวาทพระราชกุมารตามอย่างดาบส

2. วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมโพธิญาณ


หลังจากออกผนวชได้ 6 ปี จนเมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา เจ้าชายสิทธัตถะก็ทรงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้ามืดของวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย

สิ่งที่ตรัสรู้ คือ อริยสัจสี่ เป็นความจริงอันประเสริฐ 4 ประการของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จไปที่ต้นมหาโพธิ์ และทรงเจริญสมาธิภาวนาจนจิตเป็นสมาธิได้ฌานที่ 4 แล้วบำเพ็ญภาวนาต่อไปจนได้ฌาน 3 คือ

ยามต้น : ทรงบรรลุ “ปุพเพนิวาสานุติญาณ ” คือ ทรงระลึกชาติในอดีตทั้งของตนเองและผู้อื่นได้
ยามสอง : ทรงบรรลุ “จุตูปปาตญาณ” คือ การรู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ด้วยการมีตาทิพย์สามารถเห็นการจุติและอุบัติของวิญญาณทั้งหลาย
ยามสาม หรือยามสุดท้าย : ทรงบรรลุ “อาสวักขญาณ” คือ รู้วิธีกำจัดกิเลสด้วย อริยสัจ 4 (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในคืนวันเพ็ญเดือน 6 ซึ่งขณะนั้นพระพุทธองค์มีพระชนมายุได้ 35 พรรษา


3. วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน (ดับสังขารไม่กลับมาเกิดสร้างชาติ สร้างภพอีกต่อไป)

เมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้และแสดงธรรมเป็นเวลานานถึง 45 ปี จนมีพระชนมายุได้ 80 พรรษา ได้ประทับจำพรรษา ณ เวฬุคาม ใกล้เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ในระหว่างนั้นทรงประชวรอย่างหนัก ครั้นเมื่อถึงวันเพ็ญเดือน 6 พระพุทธองค์กับพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย ก็ไปรับภัตตาหารบิณฑบาตที่บ้านนายจุนทะ ตามคำกราบทูลนิมนต์ พระองค์เสวยสุกรมัททวะที่นายจุนทะตั้งใจทำถวายก็เกิดอาพาธลง แต่ทรงอดกลั้นมุ่งเสด็จไปยังเมืองกุสินารา ประทับ ณ ป่าสาละ เพื่อเสด็จดับขันธุ์ปรินิพพาน

เมื่อถึงยามสุดท้ายของคืนนั้น พระพุทธองค์ก็ทรงประทานปัจฉิมโอวาทว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันว่าสังขารทั้งหลายย่อมมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ของตนและประโยชน์ของผู้อื่นให้ บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด” หลังจากนั้นก็เสด็จเข้าดับขันธุ์ปรินิพพาน ในราตรีเพ็ญเดือน 6 นั้น

โพสท์ใน วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา | ใส่ความเห็น

วันมาฆบุชา

วันมาฆบูชา


มาฆบูชา เป็นวันสำคัญของพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง ซึ่งเป็นที่รู้กันว่า เป็นวันเกิดพระธรรม ถือว่าเป็นวันที่ พระพุทธเจ้า ได้ประกาศ หลักธรรม คำสั่งสอนของพระองค์ เพื่อให้พระอรหันต์ทั้งหลาย ที่มาประชุมกันในวันนั้น นำไปเผยแผ่

วั น”มาฆบูชา” เป็นวันบูชาพิเศษที่ต้องทำในวันเพ็ญเดือนมาฆะ หรือในวันที่พระจันทร์เสวยมาฆฤกษ์
( ซึ่งโดยปกติทำกันในกลางเดือน ๓ แต่ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ เดือนแปดสองแปด ก็เลื่อนไปกลางเดือน ๔ )
ถือกันว่าเป็นวันสำคัญ เพราะวันนี้ เป็นวันคล้ายกับ วันประชุมกันเป็นพิเศษ แห่งพระอรหันตสาวก โดยมิได้มีการนัดหมาย ซึ่งเรียกว่า วันจาตุรงคสันนิบาต ซึ่งได้มีขึ้น ณ บริเวณเวฬุวันมหาวิหาร หลังจากที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้เป็นเวลานับได้ ๙ เดือน

วันนี้เอง ที่พระพุทธองค์แสดง “โอวาทปาฎิโมกข์” ซึ่งถือกันว่า เป็นหลักคำสอนที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา

จาตุรงคสันนิบาต คือ การประชุมพร้อมด้วยองค์ ๔ คือ

๑. วันนั้น เป็นวันมาฆปูรณมี คือวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำกลางเดือนมาฆะ จึงเรียกว่า มาฆบูชา
๒. พระภิกษุ ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย (สาเหตุของการชุมนุม)
๓. พระภิกษุทั้งหมดล้วนเป็นพระอรหันต์ ประเภทฉฬภิญญา คือ ได้อภิญญา ๖
๔. พระภิกษุ เหล่านั้น ทั้งหมด ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยตรง (เอหิภิกฺขุอุปสมฺปทา)

โอวาทปาฏิโมกข์ เป็นหลักคำสอนที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ได้กล่าวถึง จุดหมาย หลักการ และวิธีการ ของพระพุทธศาสนาไว้อย่างครบถ้วน

๑. จุดหมายของพระพุทธศาสนา คือ พระนิพพาน (นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา)

๒. หลักการของพระพุทธศาสนา คือ ต้องมีความอดทน ในการฝึกตนเอง เพื่อบรรลุจุดหมาย (ขนฺติ ปรมํ ตโป ตีติกฺขา) ต้องประกอบด้วย
ก. ไม่ทำความชั่วโดยประการทั้งปวง ทั้งทางกาย วาจา และทางใจ (สพฺพปาปสฺส อรกณํ)
ข. ทำความดีทั้งทางกาย วาจา และใจ (กุสลสฺสูปสมฺปทา) การไม่ทำความชั่วนั้น จะเรียกว่า เป็นคนดียังไม่ได้ การเป็นคนดี จะต้องทำความดี ทั้งทางกาย วาจา ใจ มิฉะนั้นแล้ว คนปัญญาอ่อน คนเป็นอัมพาต เป็นต้น ก็จะเป็นคนดีไปหมด
ค. การชำระจิตใจให้สะอาด ผ่องใส สงบ (สจิตฺตปริโยทปนํ)

๓. วิธีการที่จะบรรลุจุดหมาย คือ ต้องฝึกอบรมตนแบบต่อเนื่อง ให้เกิดมรรคสามัคคี คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ ** รวมพลังกัน เหมือนเชือก ๘ เกลียว หรือให้มี ศีล สมาธิ และปัญญา รวมพลังกัน เหมือนเชือก ๓ เกลียว พัฒนากาย วาจา ใจ ให้พูดดี ทำดี คิดดี ไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งกิเลส คือ โลภะ โทสะ โมหะ หรือ ราคะ โมสะ โมหะ ไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งกิเลส ตัณหา หรือความใคร่ ความอยากมี อยากเป็น แบบมืดบอด ความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น ที่มันเป็นไปไม่ได้ เช่น ไม่อยากเป็นคนเสื่อมลาภ, ยศ, สรรเสริญ, สุข เป็นต้น โดยอาศัยวิธีการดังต่อไปนี้.

ก. ฝึกวาจา ระวังเสมอ มิให้กล่าวคำเท็จ คำหยาบ คำส่อเสียด คำเพ้อเจ้อ (อนูปวาโท)
ข. ฝึกกาย ระวังเสมอมิให้มีการฆ่า ทำลายชีวิต ตลอดจนถึงการเบียดเบียนทางกาย (อนูปฆาโต)
ค. ละเว้นข้อที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสห้ามไว้ และทำตามข้อที่พระพุทธองค์อนุญาต (ปาฎิโมกฺเข จ สํวโร)
ง. รู้จักประมาณในการบริโภค อาหาร ตลอดจน รู้จักประมาณในการใช้สอยปัจจัย ๔ (มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺสมึ)
จ. ฝึกตนอย่างจริงจัง ในที่ที่สงัดจากสิ่งรบกวน (ปนฺตนฺ จ สยนาสนํ)
ฉ. ภาวนาอยู่เสมอ คือ พัฒนาตนเองให้พ้นจากอำนาจของกิเลสตัณหา การภาวนา หมายถึง การใช้ทั้งสมาธิ และวิปัสสนา แก้ปัญหา หรือจัดการกับกิเลส (อธิจิตฺเต จ อาโยโค) เป็นการตรวจสอบตัวเองอยู่เสมอ มิให้จิตใจเศร้าหมอง ให้จิตใจผ่องใสอยู่เสมอ (สจิตฺตปริโยทปนํ)

จุดหมาย หลักการ และวิธีการ ที่พระพุทธเจ้าได้ประกาศไว้จะเป็นไปด้วยดี และบรรลุวัตถุประสงค์ที่พระพุทธเจ้าทรงมุ่งหมายไว้นั้น พระองค์ได้ย้ำเตือนไว้ว่า จะต้องปฏิบัติตนให้เป็นอย่างบรรพชิต และเป็นอย่างสมณะ คือ เว้นจากความชั่วทุกประการ และเป็นผู้ปฏิบัติตัวเป็นแบบอย่าง เพื่อระงับบาปอกุศล ได้แก่ ผู้ปฏิบัติธรรม เพื่อเป็นอริยบุคคล ทั้งไม่เบียดเบียนและไม่ก่อให้เกิดความเดือนร้อนแก่คนที่ประพฤติดี ปฏิบัติชอบทั้งหลาย (น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโต)

หมายเหตุ
** อริยมรรคมีองค์ ๘ ได้แก่
สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ
สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ
สัมมาวาจา การพูดจาชอบ
สัมมากัมมันตะ การทำงานชอบ
สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีวิตชอบ
สัมมาวายามะ ความพากเพียรชอบ
สัมมาสติ ความระลึกชอบ
สัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นชอบ

อภิญญา ๖
อภิญญา คือความรู้อันยอดยิ่งมี ๖ ประการได้แก่
๑.แสดงฤทธิ์ได้ (อิทธิวิธิ)
๒.หูทิพย์ (ทิพยโสต)
๓.รู้จักกำหนดใจผู้อื่น (เจโตปริยญาณ)
๔.ระลึกชาติได้ (ปุพเพนิวาสานุสติญาณ)
๕.ตาทิพย์ (ทิพยจักษุ)
๖.ทำอาสวะกิเลสให้สิ้นไป-คือญาณหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย (อาสวักขยญาณ)

สาเหตุของการชุมนุม
คงเนื่องมาจากภิกษุเหล่านั้นล้วนเคยนับถือศาสนาพราหมณ์มาก่อนและในวันเพ็ญเดือนมาฆะ
เป็นวันที่ทางศาสนาพราณ์ได้ประกอบพิธีศิวาราตรี คือ การลอยบาปในแม่น้ำคงคา และประกอบพิธีสักการบูชาพระเป็นเจ้าในเทวสถาน เมื่อถึงวันนั้น พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าซึ่งเคยประกอบพิธีดังกล่าวจึงต่างพากันไปเฝ้าพระพุทธอง

โพสท์ใน วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา | ใส่ความเห็น

สะระแหน่

พืชผักสวนครัว
สะระแหน่


ส่วนที่ใช้

ใบสดและลำต้น
สรรพคุณและประโยชน์
สะระแหน่ มีฤทธิ์เย็นรสเผ็ด น้ำมันสาระแหน่ช่วยขจัดลมร้อน ใช้เป็นยาดับร้อน ถอนพิษไข้ ขับลม ขับเหงื่อ รักษาอาการหวัดลมร้อน ใช้ผสมยาหรือยาอมเพื่อให้เย็นชุ่มคอ
1. รักษาอาการปวดศรีษะ ปวดฟัน เจ็บคอ
เจ็บปาก เจ็บลิ้น โดยดื่มน้ำต้มใบสะระแหน่ 5 กรัม กับน้ำ 1 ถ้วย ผสมเกลือเล็กน้อย วันละ 2 ครั้ง
2. รักษาอาการบิดท้องร่วง อุจจาระเป็นเลือด โดยนำใบสะระแหน่ต้มดื่มแต่น้ำ
3. แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย
โดยตำใบสะระแหน่ให้ละเอียด พอกบริเวณที่โดนกัด
4. ช่วยห้ามเลือดกำเดาได้ โดยใช้สำลีชุบน้ำที่คั้นจากใบสะระแหน่
หยอดที่รูจมูก
5. รักษาอาการปวดหูโดยนำน้ำคั้น
จากใบสะระแหน่หยอดหู จะช่วยบรรเทาอาการปวดได้ดี
6. รักษาอาการหน้ามือตาลาย โดยรับประทานน้ำต้มใบสะระแหน่และขิงสด

วิธีใช้ในการประกอบอาหาร

ใบสะระแหน่ใช้ลดกลิ่นคาวของอาหารจำพวกพร่า ยำ และลาบ ใช้แต่งกลิ่นเครื่องดื่มและเหล้า

 

ที่มา   http://www.mookfood.com/vegetable/menuvegetabletindex.asp

โพสท์ใน หมวดผักสวนครัวสมุนไพร | ใส่ความเห็น

ขิง

พืชผักสวนครัว
ขิง


ส่วนที่ใช้

เหง้า หน่ออ่อน เนื้ออ่อนในลำต้น ช่อดอกอ่อน
สรรพคุณ

ขิงยังมีสารอาหารที่มีคุณค่าต่อร่างกาย คือ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต แคลเซียม วิตามินเอ ฯ ขิงมีฤทธิ์อุ่น ช่วยขับเหงื่อ ไล่ความเย็น ขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยให้เจริญอาหาร และทำให้ร่างกายอบอุ่น ในทางยานิยมใช้ขิงแก่ เพราะขิงยิ่งแก่จะยิ่งเผ็ดร้อนและมีใยอาหารมาก

นำเหง้าสดย่างไฟให้สุก ตำผสมกับน้ำปูนใสคั้นเอาแต่น้ำดื่ม หรือนำเหง้าสดหมกไฟรับประทานเมื่อมีอาการเบื่ออาหาร

วิธีใช้ในการประกอบอาหาร

ขิงที่นำมาประกอบอาหารมีหลายรูปแบบคือ
ขิงสด ขิงดอง ขิงแห้ง ขิงผง รวมทั้งน้ำขิงที่เป็นเครื่องดื่ม ขิงเป็นเครื่องเทศที่ใช้แต่งกลิ่นอาหาร เพิ่มรสชาติ
และดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ เช่น ใช้โรยหน้าปลานึ่ง โรยหน้าโจ๊กหรือผสมในน้ำจิ้มข้าวมันไก่ ต้มส้มปลา
แกงฮังเล ยำกุ้งแห้ง ขิงยำ เป็นเครื่องเคียงของเมี่ยงคำ
หรือทำเป็นขนมหวาน เช่น บัวลอยไข่หวาน มันเทศต้ม เป็นต้น นอกจากนี้ขิงดองยังเป็นอาจาดในอาหารอีกหลายชนิด
เช่น ข้าวหน้าเป็ด หรืออาหารญี่ปุ่น รวมทั้งยังเป็นส่วนผสมในการแต่งกลิ่นอาหารหลายชนิด
เช่น คุกกี้ พาย เค้ก พุดดิ้ง ผงกะหรี่ เป็นต้น ในประเทศแถบตะวันตกนำขิงไปทำเป็นเบียร์ คือ เบียร์ขิง (Ginger beer)

ประโยชน์

1. รักษาอาการคลื่นไส้อาเจียน โดยนำขิงแก่สด ประมาณ 2-3 เหง้า มาทุบพอแตกต้มกับน้ำ
2. รักษาไข้หวัด โดยนำขิงแก่สด 7 กรัม และขิงแห้ง 2 กรัม ต้มกับน้ำตาลทรายแดง ดื่มเพื่อรักษาอาการ หรือใช้ขิงแก่ 2-3 เหง้า นำมาทุบให้ละเอียดต้มกับน้ำอาบเพื่อขับเหงื่อลดอาการไข้เนื่องจากหวัด
3. รักษาอาการไอ ขับเสมหะ โดยนำขิงสดมาคั้นน้ำให้ได้ประมาณครึ่งถ้วย ผสมน้ำผึ้งประมาณ 1 ช้อนชา ต้มกับน้ำ 2 ถ้วย ดื่มวันละ 3 ครั้ง หรือใช้ขิงสดฝนกับมะนาวเติมเกลือเล็กน้อย ใช้กวาดคอหรือจิบบ่อยๆ
4. รักษาอาการปวดประจำเดือน ในช่วงก่อนหรือระหว่างมีประจำเดือน โดยนำขิงแก่แห้งประมาณ 30 กรัม ต้มกับน้ำดื่มบ่อยๆ
5. แก้อาการท้องเสีย ท้องร่วง โดยใช้ขิงแห้งบดชงกับน้ำอุ่น ดื่มวันละ 1 ครั้ง
6. รักษาแผลที่เกิดจากไฟไหม้หรือถูกน้ำร้อนลวก โดยตำขิงสดให้ละเอียด นำกากมาพอกที่แผลเพื่อบรรเทาอาการอักเสบ เป็นหนอง
7. รักษาอาการปวดฟัน โดยนำขิงแก่ทุบให้ละเอียด คั่วกับน้ำสารส้มจนเกรียม แล้วบดจนเป็นผง พอกบริเวณฟันที่ปวด

ที่มา   http://www.mookfood.com/vegetable/menuvegetabletindex.asp

 

โพสท์ใน หมวดผักสวนครัวสมุนไพร | ใส่ความเห็น

ผัดเผ็ดปลาดุก

ผัดเผ็ดปลาดุกทอดกรอบ

ส่วนผสมผัดเผ็ดปลาดุกทอดกรอบ

  1. ปลาดุกหั่นเป็นชิ้นๆ ล้างให้สะาอด 500 กรัม
  2. แป้งสาลี 1 ถ้วยตวง
  3. ใบมะกรูดทอดกรอบ 2 ช้อนโต๊ะ
  4. ใบกะเพราทอดกรอบ 1/4 ถ้วยตวง
  5. พริกสดเขียว แดง เหลือง 3 เม็ด
  6. น้ำปลาดี ประมาณ 3-4 ช้อนโต๊ะ
  7. น้ำตาลมะพร้าว 2 ช้อนโต๊ะ
  8. น้ำพริกแกงเผ็ด 60 กรัม
  9. น้ำมันสำหรับผัด 1/4 ถ้วยตวง
  10. น้ำมันสำหรับทอด

วิธีทำผัดเผ็ดปลาดุกทอดกรอบ
1.นำน้ำมันสำหรับทอดใส่กระทะ ตั้งไฟให้ร้อน นำปลาดุกที่ล้างเพื่อคลุกกับ
แป้งสาลให้ทั่วจนหมด นำปลาดุกลงทอดให้กรอบทั่ว ตักขึ้นให้สะเด็ดน้ำมัน
พักไว้
2. นำน้ำมันสำหรับผัด ใส่กระทะ ตั้งไฟให้ร้อน ใส่น้ำพริกแกงเผ็ดลงผัดให้หอม
ใส่น้ำนิดหน่อย ผัดให้ทั่ว ปรุงรสด้วยน้ำปลาและน้ำตาลมะพร้าวผัดให้เข้ากัน
ชิมรส ให้ออกรส เค็ม หวาน ใส่พริกสดเขียว แดง เหลือง เมื่อรสดีแล้ว ผัดให้แห้ง นำปลาดุกทอดกรอบลงคลุกให้ทั่ว ตักขึ้นใส่จานพร้อมเสริฟ
ให้สวยงาม โรยหน้าด้วยใบมะกรูดทอดกรอบ ใบกะเพราทอดกรอบให้สวยงาม

 

ที่มา    http://www.mookfood.com/

โพสท์ใน หมวดเมนูอาหารไทย | ใส่ความเห็น

ขี้เหล็ก

กลุ่มยากล่อมประสาท ทำให้นอนหลับ

ขี้เหล็ก


กลุ่มยากล่อมประสาท ทำให้นอนหลับ


ขี้เหล็ก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Senna siamea (Lam.) Irwin & Barneby

ชื่อสามัญ :
Cassod tree, Thai copper pod

วงศ์ :
Leguminosae – ceasalpinioideae

ชื่ออื่น : ขี้เหล็กใหญ่ (ภาคกลาง) ขี้เหล็กแก่น (ราชบุรี) ขี้เหล็กหลวง (ภาคเหนือ) ขี้เหล็กบ้าน (ลำปาง, สุราษฎร์ธานี) ผักจี้ลี้ (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) แมะขี้แหละพะโด (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ยะหา (มลายู-ปัตตานี)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มแคบ เปลือกต้นสีน้ำตาล แตกเป็นร่องตื้นๆ ตามยาว ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ มีใบย่อย 13-19 ใบ รูปรี กว้าง 1.5 ซม. ยาว 4 ซม. ปลายใบเว้าตื้นๆ โคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ก้านใบร่วมสีน้ำตาลแดง ดอก ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงที่ปลายกิ่ง ดอกสีเหลือง กลีบเลี้ยงกลม มี 3- 4 กลีบ ปลายมน กลีบดอกมี 5 กลีบ ปลายมน โคนเรียว หลุดร่วงง่าย ก้านดอกยาว 1-1.5 ซม. เกสรเพศผู้มีหลายอัน ผล เป็นฝักแบนยาว กว้าง 1.3 ซม. ยาว 15-23 ซม. หนา สีน้ำตาล เมล็ดมีหลายเมล็ด
ส่วนที่ใช้ : ดอก ราก ลำต้นและกิ่ง ทั้งต้น เปลือกต้น แก่น ใบ ฝัก เปลือกฝัก ใบแก่

สรรพคุณ :

ดอก
– รักษาโรคเส้นประสาท นอนไม่หลับ ทำให้หลับสบาย
– รักษาหืด รักษาโรคโลหิตพิการ ผายธาตุ
– รักษารังแค ขับพยาธิ

ราก – รักษาไข้ รักษาโรคเหน็บขา ทาแก้เส้นอัมพฤกษ์ให้หย่อน แก้ฟกช้ำ แก้ไข้บำรุงธาตุ ไข้ผิดสำแดง

ลำต้นและกิ่ง – เป็นยาระบาย รักษาโรคผิวหนัง แก้โรคกระษัย แก้นิ่ว ขับปัสสาวะ ขับระดูขา

ทั้งต้น – แก้กระษัย ดับพิษไข้ แก้พิษเสมหะ รักษาโรคหนองใน รักษาอาการตัวเหลือง เป็นยาระบาย บำรุงน้ำดี ทำให้เส้นเอ็นหย่อน

เปลือกต้น – รักษาโรคริดสีดวงทวาร โรคหิด แก้กระษัย ใช้เป็นยาระบาย

แก่น
– รักษาโรคเบาหวาน รักษาโรคหนองใน ใช้เป็นยาระบาย
– รักษาวัณโรค รักษามะเร็งปอด ปอดอักเสบ มะเร็งลำไส้ มะเร็งกระเพาะอาหาร

ใบ
– รักษาโรคบิด โรคเบาหวาน แก้ร้อนใน รักษาฝีมะม่วง
– รักษาโรคเหน็บชา ลดความดันโลหิตสูง ขับพยาธิ เป็นยาระบาย
– รักษาอาการนอนไม่หลับ

ฝัก – แก้พิษไข้เพื่อน้ำดี พิษไข้เพื่อเสมหะ แก้ลมขึ้นเบื้องสูง เบื้องบน โลหิตขึ้นเบื้องบน ทำให้ระส่ำระสายในท้อง

เปลือกฝัก – แก้เส้นเอ็นพิการ

ใบแก่ – ใช้ทำปุ๋ยหมัก

วิธีและปริมาณที่ใช้ :

แก้อาการนอนไม่หลับ กังวล เบื่ออาหาร
ใช้ใบแห้งหนัก 30 กรัม หรือใบสดหนัก 50 กรัม ต้มเอาน้ำดื่มก่อนนอน หรือใช้ใบอ่อนทำเป็นยาดองเหล้า (ใส่เหล้าขาวพอท่วมยา แช่ไว้ 7 วัน คนทุกวันให้น้ำยาสม่ำเสมอ กรองกากยาออก จะได้น้ำยาดองเหล้าขี้เหล็ก) ดื่มครั้งละ 1-2 ช้อนชา ก่อนนอน

แก้อาการท้องผูก เป็นยาระบาย ยาถ่าย
ใช้ใบอ่อน 2-3 กำมือ หรือแก่นขนาดประมาณ 2 องคุลี ใช้ 3-4 ชิ้น ใช้ใบอ่อนหรือแก่ต้มกับน้ำ 1-1½ ถ้วยแก้ว เติมเกลือเล็กน้อย ดื่มเมื่อตื่นนอนเช้า หรือก่อนอาหารเช้าครั้งเดียว

สารเคมี :

เปลือก แก่นและใบ มี anthraquinone glycoside เช่น rhein, aloe-emodin, Chrysophanol และ Sennoside ดอกมีสารพวก chromone ชื่อ Barakol และสารขมชื่อ cassiamin

ที่มา http://www.rspg.or.th/

โพสท์ใน หมวดพืชสมุนไพร | ใส่ความเห็น

พวงชมพูดอกขาว

กลุ่มยากล่อมประสาท ทำให้นอนหลับ

พวงชมพูดอกขาว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Antigonon leptopus Hook & Arn.

ชื่อสามัญ :
Chain of love, Confederate Vine, Coral vine
วงศ์ : Polygonaceae

ชื่ออื่น :
ชมพูพวง (กรุงเทพฯ) พวงนาค (ภาคกลาง) หงอนนาค (ปัตตานี)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้เลื้อยพาดพัน ลำต้นเล็ก สีเขียว มีมือสำหรับเกาะยึด ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปหัวใจ กว้าง 3-4 ซม. ยาว 6-8 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบเว้ารูปหัวใจ ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ เห็นเส้นใบชัดเจน ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน มีขนาดเล็ก ส่วนใหญ่ดอกสีชมพู ที่พบสีขาวมีบ้าง กลีบดอกมี 5 กลีบ ปลายแหลม ผล เป็นผลแห้ง รูปสามเหลี่ยม
ส่วนที่ใช้ : ราก และเถา

สรรพคุณ : เป็นยากล่อมประสาท ทำให้นอนหลับ
วิธีและปริมาณที่ใช้ : ใช้เถา 1 กำมือ หรือราก 1/2 กำมือ ต้มกับน้ำ 4 ถ้วยแก้ว ต้มให้เหลือ 2 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละ 3 ช้อนแกง ก่อนนอน

ที่มา http://www.rspg.or.th/

โพสท์ใน หมวดพืชสมุนไพร | ใส่ความเห็น

สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดอุดรธานี

สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดอุดรธานี

คำขวัญ ประจำจังหวัด
น้ำตกจากสันภูพาน อุทยานแห่งธรรมะ อารยธรรม 5,000 ปี ธานีผ้าหมี่ขิด
แดนเนรมิตหนองประจักษ์ เลิศลักษณ์กล้วยไม้หอมอุดรชันไฌน์

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง

อยู่ที่บ้านเชียง ตำบลบ้านเชียง แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 ตั้งอยู่ด้านขวาของทางเข้า อยู่ในบริเวณวัดโพธิ์ศรีใน เป็นพิพิธภัณฑ์เป็นที่เป็นแหล่งโบราณคดีแห่งแรกในประเทศไทย เป็น นิทรรศการถาวรซึ่งแสดงขั้นตอนการขุดค้นทางโบราณคดีที่ยังคงลักษณะของศิลปวัตถุที่พบตามชั้นดิน
ส่วนที่ 2 ตั้งอยู่ด้านซ้ายของทางเข้า เป็นอาคารที่จัดแสดงเกี่ยวกับเรื่องราวและวัฒนธรรมของ บ้านเชียงในอดีต ตลอดจนเครื่องใช้ที่แสดงถึงเทคโนโลยีในสมัยโบราณ นอกจากนั้นภายในบริเวณอาคารส่วนที่ 2 ยังมีห้องนิทรรศการ ห้องบรรยาย ฉายภาพยนตร์ ฉายภาพนิ่งและการให้บริการการศึกษาต่าง ๆ การเดินทางไปจากตังจังหวัดเพียง 55 กิโลเมตร ตามเส้นทางหมายเลข 22 (อุดรธานี-สกลนคร) ตรงกิโลเมตรที่ 50 เลี้ยวเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 2225 อีกประมาณ 6 กิโลเมตร ก็จะถึงพิพิธภัณฑ์ ซึ่งเปิดให้เข้าชมทุกวัน เว้นวันจันทร์ตั้งแต่เวลา 9.00-16.00 น.

หนองประจักษ์ศิลปาคม

อยู่ในเขตเทศบาลเมืองอุดรธานี เป็นหนองน้ำขนาดใหญ่มีมาตั้งแต่ก่อนตั้งเมืองอุดรธานี ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก ของตัวเมือง บริเวณตัวเกาะกลางน้ำไจัดทำสวนหย่อมปลูกไม้ดอกไม้ประดับหลายชนิดและทำสะพานเชื่อมระหว่างเกาะ มีน้ำพุ หอนาฬิกา และสวน เด็กเล่น

อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท

อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาภูพาน ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 3,430 ไร่ ในเขตบ้านติ้ว ตำบลเมืองพาน อยู่ห่างจากตัวจังหวัดระยะทางประมาณ 67 กิโลเมตร ตามเส้นทางหมายเลข 2 เส้นอุดรธานี-หนองคาย ถึงบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 13 แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 2021 ไปทางอำเภอบ้านผือ ระยะทางประมาณ 42 กิโลเมตร แยกขวาประมาณ 500 เมตร และตรงไปตามเส้นทางหมายเลข 2348 อีกประมาณ 12 กิโลเมตร มีแยกขวาเป็นทางเข้าไปประมาณ 2 กิโลเมตร

อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทนี้เป็นที่ตั้งของสถานที่ซึ่งแสดงถึงอารยธรรมของมนุษย์ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิประเทศซึ่งมีโครงสร้างส่วนใหญ่เป็นหินทรายที่ถูกขัดเกลาจากขบวนการกัดกร่อนทางธรรมชาติทำให้เกิดเป็นโขดหินน้อยใหญ่รูปร่างต่าง ๆ กัน ปรากฏเป็นหลักฐานเกี่ยวกับชีวิตผู้คนในอดีตที่น่าสนใจหลายแห่ง อาทิ

พระพุทธบาทบัวบก ตั้งอยู่บริเวณทางแยกซ้ายมือก่อนถึงที่ทำการอุทยานฯสร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2463-2477 คำว่า “บัวบก” เป็นชื่อของพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นตามป่า มีหัว และใบคล้ายใบบัว ซึ่งชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า ผักหนอก บัวบกนี้คงจะมีอยู่มากในบริเวณที่พบรอยพระพุทธบาท จึงเรียกรอยพระพุทธบาทนี้ว่า “พระพุทธบาทบัวบก” หรือคำว่าบัวบกอาจจะมาจากคำว่า บ่บก ซึ่งหมายถึง ไม่แห้งแล้ง รอยพระพุทธบาทมีลักษณะเป็นแอ่งลึกประมาณ 60 เซนติเมตร ลงไปในพื้นหินยาว 1.93 เมตร กว้าง 90 เซนติเมตร เดิมมีการก่อมณฑปครอบรอยพระพุทธบาทไว้ ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2465 พระอาจารย์ศรีทัตย์ สุวรรณมาโจ ได้รื้อมณฑปเก่าออกแล้วสร้างพระธาตุเจดีย์ขึ้นใหม่ และยังสร้างรอยพระพุทธบาทจำลองวางทับรอยพระพุทธบาทเดิมไว้ ภายในพระธาตุเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ตัวองค์เจดีย์เป็นทรงบัวเหลี่ยมคล้ายองค์พระธาตุพนม มีงานนมัสการพระพุทธบาทบัวบกในวันขึ้น 13-15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี

ภายในบริเวณอุทยานฯ มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ให้บริการข้อมูลของอุทยานฯ รวมทั้งแผนที่ และเส้นทางเดินเที่ยวชมบริเวณ อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทเปิดบริการทุกวัน เวลา 08.00-16.30 น. อัตราค่าเข้าชม นักท่องเที่ยว ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท

พระพุทธบาทหลังเต่า

ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของพระพุทธบาทบังบก มีลักษณะเป็นรอยพระบาทสลักลึกลงไปในพื้นหิน ใจกลางพระบาท สลักเป็นรูปดอกบัว กลีบแหลมนูนขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด และเนื่องจากพระพุทธบาทแห่งนี้อยู่ไกล้กับเพิงหินธรรมชาติรูปร่างคล้ายเต่า ๆ จึงได้ชื่อว่า พระพุทธบาทหลังเต่า

นอกจากนี้ยังมีถ้ำและเพิงหินต่างๆตั้งกระจ่ายอยู่ทั่วไปในบริเวณอุทยานฯนักท่องเที่ยวสามารถเดินชมได้ในระยะทางไม่ไกลนัก ได้แก่ ถ้ำลายมือ ถ้ำโนนสาวเอ้ ถ้ำคน ถ้ำวัวแดง(ซึ่งถ้ำเหล่านี้สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นที่พำนักของมนุษย์สมัยหิน และมนุษย์เหล่านี้ได้เขียนรูปต่าง ๆ ไว้เช่น รูปคน รูปมือ รูปสัตว์ และรูปเรขาคณิต) และมีลายหินที่สวยงาม คือ ลานหินโนนสาวเอ้ นอกจากนี้ยังพบชิ้นส่วนหลักเสมาและหินทรายจำหลักพระพุทธรูปศิลปะสมัยทวาราวดีที่เพิงหินวัดพ่อตาและเพิงหินวัดลูกเขย

น้ำตกยูงทอง


น้ำตกยูงทอง ตั้งอยู่บ้านสว่าง หมู่ที่ 2 ตำบลนายูงอำเภอน้ำโสม เป็นน้ำตกตั้งอยู่บนสันเขาภูพานและภูย่าอู มีลำน้ำไหลผ่านโขดหินสลับซับซ้อนสวยงามมาก ท่ามกลางความเขียวขจีของแมกไม้นานาพันธุ์น้ำตกยูงทองเป็นน้ำตก-ขนาดเล็กมี 3 ชั้น อยู่ห่างจากตัวเมืองอุดรธานีประมาณ 103 กิโลเมตร
การเดินทางจากตัวจังหวัดอุดรธานี ผ่านเข้าอำเภอบ้านผือและอำเภอน้ำโสม เมื่อถึงอำเภอน้ำโสม จะมีทางแยกจากหมู่บ้านน้ำซึมต่อไป อีกประมาณ 17 กิโลเมตร ก็จะถึงทางแยกวนอุทยาน ซึ่งเส้นทางดังกล่าวเป็นเส้นทางของ รพช .ตลอดสายและมีสภาพดี

เมืองคำชะโนด

ลักษณะพื้นที่โดยรอบเป็นเกาะ มีต้นชะโนด เกิดขึ้นรวมกันอยู่ เป็นกลุ่มประมาณ 20 ไร่ เป็นต้นไม้ชนิดที่หายากมาก ในประเทศไทย ประกอบด้วยต้นมะพร้าว ต้นหมาก และต้นตาล รวมกันเป็นต้นชะโนด ภายในป่าชะโนดยังมีบ่อน้ำศักดิ์สิทธ์อยู่ตรงกลางเกาะ เรียกว่า บ่อคำชะโนด เป็นน้ำใต้ดินที่พุ่งไหลซึมตลอดเวลา ทางจังหวัดได้เลือกน้ำจากบ่อนี้ไปร่วมในพิธีสำคัญเสมอ นอกจากนี้ยังมีศาลเจ้าพ่อพระยาศรีสุทโธ ที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือ ในความศักดิ์สิทธิ์เป็นอย่างยิ่ง ตามเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า เป็นพญานาคราช ที่อาศัยอยู่ในเมืองบาดาล และใช้เมืองคำชะโนดแห่งนี้ เป็นที่ขึ้นลงติดต่อระหว่างเมืองบาดาลกับเมือง มนุษย์ และยังมีเรื่องราวของความศักดิ์สิทธิ์น่าอัศจรรย์ของสถานที่นี้ ให้เป็นที่เล่าขานแก่ชาวเมืองคำชะโนด

การเดินทางจากอุดรธานีไปได้ 2 เส้นทาง คือเส้นทางสายอุดร-หนองคาย เลี้ยวขวาตรง ทางแยกบ้านนาข่า ตามทางหลวงหมายเลข 2255 ถึงสามแยกบ้านสุมเส้าแล้ว เลี้ยวขวา ไป อ. บ้านดุง ต่อไปหมู่บ้านสันติสุข ถึงวัดศิริสุทโธ อีกประมาณ 12 กม .
หรือใช้เส้นทางอุดร-สกลนคร ประมาน 45 กม. แล้วเลีย้วซ้ายแยกบ้านหนองแม็ก ไป อ. บ้านดุง อีกประมาณ 40 กม . แล้วไปหมู่บ้านสัติสุขถึงวัด ศิริสุทโธอีกประมาณ 12 กม.

วนอุทยาน ภูฝอยลม

ภูฝอยลม” เป็นพื้นที่ภูเขาที่มีสภาพอุดมสมบรูณ์อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติพันดอน-ปะโค อำเภอหนองแสงจังหวัดอุดรธานี สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 600 เมตร ตั้งชื่อตามชื่อของไลเคนชนิดหนึ่ง ชื่อว่า “ฝอยลม”ซึ่งเกาะอาศัยอยู่ตามกิ่งของต้นไม้ใหญ่กระจายอยู่เต็มพื้นที่ ต่อมาได้มีการให้สัมปทานทำไม้และมีราษฎรเข้ามาจับจองและบุกรุกพื้นที่เพื่อจัดตั้งหมูบ้าน จึงทำให้สภาพป่าเริ่มเสื่อมโทรมลงเรื่อยๆ จนทำให้ ”ฝอยลม”เริ่มน้อยลง จนแทบจะหาไม่ได้ในพื้นที่

 

ที่มา     http://www.hmaungudsw.net/

 

โพสท์ใน หมวดสถานที่ท่องเทียว | ใส่ความเห็น

สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดอุบลราชธานี

สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดอุบลราชธานี

คำขวัญของ จังหวัดอุบลราชธานี

“เมืองดอกบัวงาม แม่น้ำสองสี
มีปลาแซบหลาย หาดทรายแก่งหิน
ถิ่นไทยนักปราชญ์ ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม
งามล้ำเทียนพรรษา ผาแต้มก่อนประวัติศาสตร์”

อุทยานแห่งชาติผาแต้ม


อุทยานแห่งชาติผาแต้ม มีเนื้อที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอโขงเจียม อำเภอศรีเมืองใหม่ และอำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี ประกอบด้วยสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ สัตว์ป่านานาชนิด มีจุดเด่นที่สวยงามตามธรรมชาติมากมาย เช่น ผาแต้ม น้ำตกสร้อยสวรรค์ เสาเฉลียง ถ้ำปาฏิหารย์ ภูนาทาม เป็นต้น อีกทั้งยังได้มีการค้นพบภาพเขียนสีโบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์ อายุราว 3,000-4,000 ปี ที่บริเวณผาขาม ผาแต้ม ผาเจ็ก ผาเมย และถือได้ว่า เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกในประเทศไทยที่มีแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นเส้นกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยและประเทศลาว เป็นแนวเขตอุทยานแห่งชาติที่ยาวที่สุด ทำให้สามารถมองเห็นทิวทัศน์ป่าเขาทางฝั่งประเทศลาวได้เป็นอย่างดี

เสาเฉลียง
<a href="htt
p://ratchanaisunaruk.files.wordpress.com/2012/01/e0b8b31.jpg”>
เสาเฉลียง ตั้งอยู่ที่ ตำบลห้วยไผ่ อำเภอโขงเจียม
การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข 217 จากจังหวัดอุบลราชธานี ไปอำเภอพิบูลมังสาหาร แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 2222 ไปอำเภอโขงเจียม จากอำเภอโขงเจียมใช้เส้นทางสาย 2134 (โขงเจียม – ศรีเมืองใหม่) ประมาณ 5 กิโลเมตร แยกขวา เข้าเส้นทางสาย 2112 อีกประมาณ 9 กิโลเมตร มีทางแยกขวาไปผาแต้ม จะถึงเสาเฉลียงประมาณ 1.5 กิโลเมตรก่อนถึงผาแต้ม ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดอุบลราชธานี


น้ำตกลงรู


ธารน้ำบนลานหินทรายหลากไหลชั่วนาตาปี มีธรรมชาติเป็นตัวกำหนดให้พลังแห่งสายน้ำ
ทำงานของมันไปในวัฏจักรแห่งกาลเวลา ความหมายของสายน้ำบนลานหินทรายนี้
อาจไม่มีเรื่องราวแปลกประหลาด หากไร้ซึ่งก้อนกรวดทรายที่พลังน้ำพัดเหวี่ยงหมุนวน
สร้างหลุมกุมภลักษณ์ขึ้นที่เหนือเพิงผา ใครจะเชื่อว่า
หลุมกุมภลักษณ์ที่ทะลุเพดานถ้ำจะกลายเป็นสายน้ำที่ลอดทะลุลงมา
เรียกขานว่าน้ำตกลงรูคู่อุทยานแห่งชาติผาแต้ม


ป่าดงนาทาม


เป็นป่าอยู่บริเวณทิศเหนือของอุทยานแห่งชาติผาแต้ม มีพื้นที่ติดต่อกัน 3 อำเภอ คืออำเภอโขงเจียม อำเภอศรีเมืองใหม่ และอำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี บริเวณด้านทิศตะวันออกของพื้นที่ ติดกับแม่น้ำโขงที่เป็นแนวชายแดน ไทย – สปป.ลาว มีพื้นที่ประมาณ 88 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 55,000 ไร่ ในปี 2534 ได้รับการประกาศให้เป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติผาแต้ม

อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ


ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี สภาพพื้นที่โดยทั่วไป เป็นที่ราบสูง เป็นเขาเตี้ยๆ มีแม่น้ำมูลและแม่น้ำโขงไหลผ่านตามแนวเขตทางด้านทิศเหนือ ไปออกประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว บริเวณแก่งตะนะจะมีสายน้ำที่เชี่ยวและลึก อีกทั้งยังมีถ้ำใต้น้ำหลายแห่ง จึงทำให้มีปลาอาศัยอยู่ชุกชุม ตรงกลางมีโขดหินขนาดใหญ่เป็นเกาะกลาง มีเนื้อที่ประมาณ 80 ตารางกิโลเมตร หรือ 50,000 ไร่

ที่มา http://www.southlaostour.com/

โพสท์ใน หมวดสถานที่ท่องเทียว | ใส่ความเห็น